การเคลือบเมล็ดพันธุ์ Seed Coating Technology

SEED COATING TECHNOLOGY

การเคลือบเมล็ดพันธุ์

เป็นวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติต่อเมล็ด ที่ใช้กันมากในธุรกิจเมล็ดพันธุ์เริ่มแรกนั้นได้มีการพัฒนามาจากการคลุกจุด เริ่มต้นของการป้องกัน การเข้าทำลายพืชจากเชื้อราในดินอันเป็นสาเหตุของโรคโคนเน่า (damping off) เช่น Phythium, Phythophthora เป็นต้น โดยทำให้เกิดการสะสมของสารในลักษณะบางเบา และมีความหนาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นเยื่อบางเกาะติดแน่น ไม่หลุดร่วงและคลุมรอบเมล็ดพันธุ์ โดยเมล็ดพันธุ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เนื่องจากเมล็ดได้รับสารเคลือบอย่างสม่ำเสมอเกาะติดแน่นไม่หลุดร่วงระหว่าง การนำไปใช้ และยังสามารถควบคุมปริมาณสารเคลือบในแต่ละเมล็ดได้เป็นการลดปัญหาสารพิษตก ค้างต่อสภาพแวดล้อมซึ่งการเคลือบเมล็ดมีการพัฒนาเครื่องมือ และขั้นตอนมาจากอุตสาหกรรมยาโดยใช้พอลิเมอร์ที่มีความเหนียวและมีส่วนผสมของ สารออกฤทธิ์ชนิดต่างๆซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการ เคลือบเมล็ดแบบฟิล์ม (film coating) โดยเมล็ดถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นฟิล์มบาง ๆ จำพวก thin polymer ซึ่งตามปกติจะมีการคลุกเมล็ดหรือ seed dressing ด้วยธาตุอาหารหรือสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อโรคก่อนแล้วจึงทำการเคลือบ ฟิล์มเพื่อลดปัญหาโรคทางดินของพืช

วัตถุประสงค์ของการเคลือบเมล็ดพันธุ์

1)การเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีช่วย ให้เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพดีขึ้นโดยช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกจากการเคลือบ เมล็ดพันธุ์ด้วยธาตุอาหารพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตฮอร์โมนและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง 2)เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสามารถมองเห็นได้เมื่ออยู่ในแปลงปลูกทำให้สามารถ จัดการการปลูกได้ง่าย 3)ใช้สารเคมีในปริมาณน้อยโดยเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับสารเคมีที่ติดไปกับ เมล็ด 4)ลดการฟุ้งกระจายของสารเคมีซึ่งทำให้ลดโอกาสเสี่ยงในการได้รับสารพิษของ เกษตรกรผู้ปฏิบัติงานและมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม 5)ลดขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เนื่องจากไม่ต้องทำการคลุกเมล็ดพันธุ์กับสารเคมีก่อนปลูกอีก 6)เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เนื่องมาจากการเคลือบสารป้องกัน กำจัดโรคและแมลง 7)เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบจะมีสีสันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ง่ายต่อการ จำแนก ป้องกันการปลอมปนของพันธุ์ และใช้เป็นจุดขายที่ดีทางการตลาด

องค์ประกอบสารเคลือบเมล็ดพันธุ์และผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์  

การเลือกใช้สารเคลือบเมล็ดพันธุ์จะขึ้น อยู่กับวัตถุประสงค์ของการเคลือบนั้น ๆ โดยส่วนมากมีการใช้สารออกฤทธิ์ (active ingredient) ซึ่งได้แก่ สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารป้องกันกำจัดแมลง ธาตุอาหาร ฮอร์โมน และสารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งมักใช้ร่วมกับพอลิเมอร์ที่มีลักษณะเหนียวเพื่อใช้เป็นสารยึดเกาะให้ สารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ติดกับเมล็ดพันธุ์ได้ดีขึ้น สารเคลือบที่ดีควรมีลักษณะเป็นสารที่มีน้ำเป็นตัวกลาง ความหนืดต่ำ มีความเข้มข้นของของแข็งสูง สามารถปรับสมดุลของสารมีขั้วและไม่มีขั้วได้และให้ฟิล์มที่มีความแข็งแรง เมื่อแห้งแล้ว  

การพัฒนาเครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์

เครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ใน ปัจจุบันต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงมาก และมีข้อจำกัดในการซ่อมบำรุง เป็นเหตุให้การเคลือบเมล็ดพันธุ์ไม่แพร่หลาย จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มีการคิดค้นและพัฒนาสร้างเครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์ รุ่นต่างๆ ได้แก่ SKK-05 SKK-06 SKK-07 และ SKK-09 ระหว่างปี พ.ศ.2545-2551 เพื่อให้มีการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์โดยการเคลือบเมล็ดแพร่หลายมากขึ้น และในส่วนการพัฒนาและปรับปรุงเครื่อง ผู้พัฒนาได้รับการสนับสนุนจากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (KKUBI) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์มี 2 ประเภทโดยแบ่งตามแบ่งตามลักษณะการปล่อยสารเคมีได้ดังนี้ คือ เครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์แบบฉีดพ่น และเครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์แบบจานหมุน

เครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์แบบพ่นฝอย เครื่อง เคลือบเมล็ดพันธุ์ SKK-05  SKK-06  และ SKK-07 มีการออกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานสารเคลือบจะถูกฉีดพ่นเป็นละอองฝอยผ่านหัว ฉีดที่ออกแบบเฉพาะ ให้สารเคลือบติดกับเมล็ดพันธุ์อย่างแนบแน่นด้วยการควบคุมโดยระบบอิเล็ค ทรอนิคส์สวิตซ์ ในขณะเดียวกันมีลมที่ควบคุมตามอุณหภูมิที่กำหนดเป่าไปที่เมล็ดเพื่อให้สาร เคลือบแห้งติดกับเมล็ดอย่างรวดเร็วจึงไม่เป็นการเพิ่มความชื้นแก่เมล็ด พันธุ์ ซึ่งความเร็วของการหมุนของถังเคลือบ การโรยตัวของเมล็ด เวลาการฉีดพ่นสารสารเคลือบถูกควบคุมโดยระบบอิเล็คทรอนิคส์ จึงมีความแม่นยำ เที่ยงตรง สารเคลือบติดกับเมล็ดอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้องในอัตราที่กำหนด เมล็ดหลังจากการเคลือบสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องนำไปลดความชื้น เครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์นี้เหมาะในการใช้กับเมล็ดพืชและสารเคลือบที่เป็น ของเหลวทุกชนิด มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ปลอดภัยต่อผู้ใช้เพราะเป็นระบบเปิด

      

เครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์แบบจานหมุน หลักสำคัญของการทำงานของเครื่องเคลือบ ถังเคลือบได้ถูกออกแบบให้เป็นรูปทรงกระบอก มีการหมุนด้วยแรงมอเตอร์ที่สมดุล ทำให้เมล็ดพันธุ์มีการเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ ความเร็วรอบของการหมุนของถังเคลือบสามารถปรับระดับได้ ทำให้เคลือบเมล็ดได้ทุกชนิด ที่ศูนย์กลางของถังมีจานหมุนที่เหมาะสม หมุนด้วยความเร็วสูงทำให้กระจายสารเคลือบและสารเคมีที่ต้องการให้ติดกับ เมล็ดได้สม่ำเสมอและรวดเร็ว ภายในถังเคลือบมีใบพายเพื่อปรับระดับความหนาของเมล็ดพันธุ์ในขณะที่หมุนอยู่ ในถังเคลือบ นอกจากนี้ยังถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์ที่ถูกต้องแม่นยำ แจ้งผลด้วย PLC Control System

 

      

ผลของสารเคลือบที่มีต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบนั้นอาจถูกนำไปจำหน่ายหรือเก็บรักษาไว้เพื่อ ปลูกในฤดูกาลต่อไป ซึ่งสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ที่สามารถช่วยยืดอายุการรักษาของเมล็ดพันธุ์ได้ ควรมีคุณสมบัติป้องกันการแลกเปลี่ยนความชื้นของเมล็ดพันธุ์และความชื้น สัมพัทธ์ได้ ซึ่งพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นได้แตกต่างกัน เมื่อเคลือบเมล็ดแล้วเมล็ดจะมีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ชนิดและปริมาณของพอลิเมอร์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ด พันธุ์ควรเลือกใช้พอลิเมอร์ที่สามารถป้องกันความชื้นและในขณะเดียวกัน เมล็ดพันธุ์ต้องสามารถงอกได้เมื่อนำไปเพาะปลูก 

                 

                  

ที่มา : http://seedtechpp.kku.ac.th/index_13.html

Short URL :