ยุภา กุญชร ปลูกแตงโมเงินล้าน หลังการทำนา

ยุภา กุญชร ปลูกแตงโมเงินล้าน หลังการทำนา

หลังจากผ่านหนาวมาหมาดๆ อากาศร้อนเริ่มมาเยือน เป็นสัญญาณเตือนว่า ฤดูร้อนกำลังจะเข้ามาถึงอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับปีนี้ อากาศที่ร้อนอบอ้าวต่อจากนี้ไปน่าจะร้อนเกือบทั้งปี ทั้งนี้ เพราะสิ่งแวดล้อมที่ขาดความสมดุลของธรรมชาติ อากาศที่ร้อนอบอ้าวเช่นนี้ ก็ทำให้เราอดที่จะคิดถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า “แตงโม” ไม่ได้ ถ้าได้รับประทานแตงโมสักชิ้นสองชิ้นก็คงช่วยบรรเทาดับความกระหาย คลายร้อน ได้อย่างวิเศษ ก่อนอื่นที่เราจะลงมือปลูกแตงโม เรามาทำความรู้จักกับเจ้าผลไม้ชนิดนี้กันก่อนดีกว่า ที่เรียกกันว่า “ราชาผลไม้หน้าร้อน” แตงโม เป็นพืชในกลุ่มเดียวกับฟัก แฟง แตงกวา และบวบ
แตง โม เป็นพืชล้มลุก เลื้อยไปกับพื้นดิน อายุสั้น ลำต้นเลื้อยเป็นเถาไปตามดิน แตงโม เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัดและอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง ไม่ชอบเจริญเติบโตในที่ชื้นแฉะ แต่มีความต้องการน้ำพอชุ่มแปลงเพื่อการเจริญเติบโตและการสร้างเนื้อผล
ประเทศไทย สามารถปลูกแตงโมได้ตลอดปี และปลูกกันได้ทั่วทุกภาค เนื่องจากเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภคแตงโมมาก เพราะรับประทานง่าย รสชาติหวาน เป็นที่ถูกปาก และราคาไม่แพงนัก เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากการปลูกแตงโมได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นพืชอายุสั้น เพียง 2 เดือนเศษก็เก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง แม้บางฤดูกาลจะมีความเสี่ยงเรื่องโรคแมลงและภัยธรรมชาติก็ตามที แต่เกษตรกรก็ยอมเสี่ยง เพราะรายได้จากการปลูกแตงโมค่อนข้างจะดีมาก ถ้าทำได้สำเร็จในการปลูกในแต่ละช่วงฤดู แตงโมสามารถปลูกในดินเกือบทุกชนิด เพราะเป็นพืชปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว จึงเป็นพืชที่เหมาะสำหรับปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงนิยมปลูกในตอนปลายฝนราวเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้ายราวเดือนมิถุนายน ในหน้าฝนก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่จะเกิดความเสี่ยงสูงกว่าฤดูอื่นๆ เช่น แตงโมไม่ติดผล ผลเน่า และโรคเถายุบ เป็นต้น
“แตงโม” เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก บางรายถึงกับร่ำรวยเป็นเศรษฐีไปแล้วก็มี แต่ถ้าจะให้ดี ควรปลูกในดินร่วนปนทราย ซึ่งมีความเป็นกรดเป็นด่าง ตั้งแต่ 5.0-7.5 (pH = 5-7.5) ก็จะยิ่งมีการเจริญเติบโตได้ดี เพราะดินในลักษณะดังกล่าวจะมีการระบายน้ำได้ดีนั่นเอง แตงโมเป็นพืชผักตระกูลแตง ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี และบริโภคกันมานานแล้ว แตงโม นอกจากจะนิยมใช้ผลแก่มารับประทานแล้ว ในส่วนของผลอ่อนและยอดอ่อน ยังสามารถใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิดอีกด้วย เช่น นำไปแกงส้ม แกงเลียง ลวกจิ้มน้ำพริก ฯลฯ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมืองไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ประกอบด้วยมีสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย ทำให้ประเทศไทยมีอากาศที่เหมาะต่อการปลูกพืชได้หลายชนิด แตงโมเองก็เป็นพืชทางเลือกที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ และทุกสภาพอากาศในประเทศไทย เพียงแต่ต้องแก้ไขสถานการณ์ผลิตที่แตกต่างกันออกไปบ้างตามฤดูกาลและสภาพแวดล้อม อีกทั้งแตงโมยังเหมาะสมต่อการปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำน้อย เพราะแตงโมเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย หรือขาดแคลนระบบชลประทาน แตงโมเป็นอีกพืชที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชที่ระยะสั้น เนื่องจากหลังจากปลูกแค่เพียง 55-65 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว แตงโมเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่นแล้ว สามารถสร้างผลตอบแทนแก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี
คุณยุภา กุญชร บ้านเลขที่ 88/2 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โทร. (087) 943-1514 เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกแตงโม สร้างรายได้หลังฤดูกาลทำนาปีมานานเกือบ 10 ปี
โดยก่อนหน้านี้ได้มีอาชีพทำนาและทำสวนมะม่วง จึงมีประสบการณ์และความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่แล้ว ต่อมาได้รู้จักเพื่อนเกษตรกรที่ทำแตงโม จึงเกิดความสนใจ ทดลองปลูกแตงโม เพราะเห็นว่าเป็นพืชอายุสั้น เพียง 2 เดือน ก็เก็บผลผลิต
ใน ปีแรก คุณยุภา ตัดสินใจปลูกประมาณ 10 ไร่ แต่ยังไม่ได้ลงทุนเรื่องของระบบน้ำและการคลุมแปลง โดยเลือกปลูกแบบระบบปล่อยน้ำเข้าร่องแปลง ซึ่งก็ได้ผลผลิตดี สร้างรายได้ดี แต่ค่อนข้างเหนื่อยมากในการให้น้ำแตงโมในระบบดังกล่าว
ใน ปีที่ 2 คุณยุภา จึงตัดสินใจลงทุนเรื่องระบบน้ำและปูพลาสติกคลุมแปลงทั้งหมด โดยขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเป็น 30 ไร่ เพราะมั่นใจในรายได้จากแตงโมมากขึ้น
ใน ทุกๆ ปีหลังการทำนาปีเสร็จสิ้น มักจะเลือกที่จะเพาะกล้าปลูกแตงโมกันในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนต้นเดือน ธันวาคม จะไปเก็บเกี่ยวผลแตงโมประมาณปลายเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เป็นจังหวะที่ดอกและผลของแตงโมไม่เจอสภาพอากาศร้อนจัดมากนัก คุณยุภา จะเตรียมที่ทำแปลงปลูกแตงโมโดยใช้อุปกรณ์ระบบน้ำเดิมที่สามารถใช้ได้นานหลายปี และพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้ได้นานถึง 3 ปี อย่าง ฤดูกาลที่ผ่านมา การปลูกแตงโมในพื้นที่ 33 ไร่ สามารถสร้างรายได้มากถึง 800,000 บาท โดยมีต้นทุนการผลิตไม่รวมระบบน้ำและพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้ของเดิม 150,000 บาท เท่านั้น โดยเฉลี่ยราคารับซื้ออยู่ที่ 5-8 บาท ต่อกิโลกรัม ใน ปี 2557 เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในพื้นที่ปลูกแตงโมเท่าเดิม 33 ไร่ ก็คาดว่ารายได้ไม่ได้หนีไปจากเดิม มีพ่อค้าจากตลาดไท และทางภาคใต้ เข้ามารับซื้ออย่างต่อเนื่อง คุณ ยุภา ยังเน้นย้ำให้ฟังว่า อาชีพการปลูกแตงโมสร้างรายได้อย่างงามในช่วงระยะเวลาอันสั้น แต่เกษตรกรจะต้องมีความขยันมาก การเอาใจใส่ทุกๆ วัน เดินสำรวจโรคและแมลงทุกๆ วัน อย่าง คุณยุภาเองจะต้องเดินดูแปลงปลูกแตงโมทุกๆ แปลง 2 คนกับสามี ว่ามีโรคแมลงอะไรทำลายบ้าง เพื่อจะได้หาทางแก้ไข ป้องกันอย่างทันที และจะต้องรู้จังหวะการใช้ในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโตของแตงโม ว่ามีศัตรูอะไรรบกวน ใช้ปุ๋ยทางดินและฉีดพ่นฮอร์โมนให้เป็น ยก ตัวอย่างง่ายๆ ที่หลายท่านไม่ทราบ แต่ประสบการณ์จะเป็นตัวสอนเกษตรกร เช่น การใช้ปุ๋ยทางใบ ที่มีจำหน่ายในรูปแบบที่เป็นเกล็ด และเป็นผง จะให้ไปพร้อมกับระบบน้ำ จะไม่ฉีดให้ทางใบเลย เพราะการฉีดให้ทางใบแก่แตงโมนั้น จะทำให้แตงโมเป็นโรคใบกรอบ โดยทางใบจะฉีดได้เพียงฮอร์โมนอย่างเดียว เช่น ฮอร์โมนกลุ่มแคลเซียม โบรอน สังกะสี คีเลท (โดยเฉพาะช่วงอากาศหนาว) ฯลฯ
แม้ แต่การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง สารบางชนิดที่เป็นยาร้อนจะใช้ไม่ได้เลยในช่วงแตงโมออกดอกและติดผลอ่อน ซึ่งจะทำให้ดอกและผลอ่อนร่วงเสียหาย หรือระยะเพาะกล้าในถาดเพาะก็ไม่ควรฉีดยาในกลุ่มคาร์บาริล เพราะจะทำให้ใบต้นกล้าไหม้ เป็นต้น
นี่เป็นเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่แนะนำให้เกษตรกรมือใหม่ต้องรู้และระวัง พร้อมกันนี้ คุณยุภาได้อธิบายการปลูกแตงโมไว้เป็นข้อๆ ดังนี้ การปลูกแตงโมนั้นมีหลายวิธีการตามความถนัดของเกษตรกร ยกตัวอย่าง 2 แบบ ที่พบเห็นบ่อย คือ การปลูกแตงโมแบบเด็ดยอด และ การปลูกแตงโมแบบไว้เถาเดียว
 
การปลูกแตงโมแบบเด็ดยอด
การ ปลูกแตงโมแบบเด็ดยอด วิธีการ คือ เมื่อปลูกแตงโมลงหลุมแล้ว ประมาณ 7-8 วัน หรือเมื่อแตงโมมีการแตกใบจริง  ประมาณ 4 ใบจริง ก็ให้เราเด็ดยอดออก โดยใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้เด็ดยอดออก ถ้าเราอยากรู้ว่าเด็ดแล้วจะมีกี่ยอดให้นับจำนวนใบจริงที่เหลืออยู่ ส่วนมากเกษตรกรจะต้องการยอด ประมาณ 3-4 ยอด ระยะ ปลูกของแตงโมแบบเด็ดยอดเหมาะที่จะปลูกในช่วงฤดูหนาวมากที่สุด จะปลูกในระยะ 60 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นฤดูฝน ควรปลูกให้ห่างกว่า คือประมาณ 70 เซนติเมตร เพื่อให้พืชสามารถมีอากาศถ่ายเทได้ ใบไม่ซ้อนทับ ทำให้เกิดโรคเชื้อราได้ง่าย โดยการปลูกแตงโมแบบเด็ดยอดจะใช้จำนวนกล้าต่อไร่ ประมาณ 600 ต้น ซึ่ง ข้อดีของการปลูกแบบเด็ดยอด คือ ช่วยประหยัดแรงงานในการแต่งกิ่งแขนงออก ช่วยประหยัดจำนวนเมล็ดพันธุ์และวัสดุเพาะกล้า แล้วใน 1 เถา สามารถไว้ผลแตงโมมากกว่า 1 ผล อาจไว้ผลแตงโมได้มากถึง 4 ผล ต่อเถา ผลแตงโมจะมีขนาดสม่ำเสมอแต่ผลไม่ใหญ่ สุดท้าย วิธีปลูกแบบนี้จะลดปัญหาแตงโมไส้แตก (ผลแตงโมเป็นโพรง) ส่วน ข้อเสียของการปลูกแบบเด็ดยอด คือ ถ้าเกษตรกรแต่งผลแตงโมไม่พร้อมกัน ยอดที่ติดก่อนยอดอื่นจะไม่ติดผล ขนาดผลแตงโมที่ได้จะไม่ใหญ่มาก แล้วถ้าเถาแตงโมตาย 1 ต้น จะทำให้จำนวนผลลดน้อยลง
 
การปลูกแบบไว้เถาเดียว
การ ปลูกแบบไว้เถาเดียว วิธีการ คือ ปลูกใน 1 ร่อง จะปลูก 2 ฝั่ง และปล่อยให้แตงโมเลื้อยไปตัดหรือเด็ดยอดแขนงออกจากเถาต้นแม่ และเอาไว้เฉพาะเถายอดแม่เท่านั้น ตัดหรือเด็ดยอดไปจนถึงข้อที่เราต้องการไว้ผล ระยะปลูกของแตงโมแบบไว้เถาเดียว
ส่วนมากเกษตรกรจะนิยมปลูกวิธีการนี้ เพราะว่าง่ายกว่าวิธีการปลูกแบบเด็ดยอด ทั้งนี้ การปลูกแบบนี้ต้องตัดแต่งกิ่งแขนงออกตลอดเวลา ระยะการปลูกอยู่ที่ 40-50 เซนติเมตร จำนวนกล้าต่อไร่ 1,300-1,600 ต้น ข้อดีการปลูกแบบไว้เถาเดียวคือ จะได้แตงโมจำนวนมาก เพราะติดได้หลายรุ่น ตัดได้ 2-3 มีด ได้ผลแตงโมขนาดใหญ่ น้ำหนักต่อผลดี ส่วนข้อเสียการปลูกแบบไว้เถาเดียว คือ เปลืองแรงงานในการตัดหรือเด็ดยอดแขนงข้างออก และเปลืองค่าเมล็ดพันธุ์
 
เทคนิคการปลูก
แบบ 1 หลุม 2 ต้น
เทคนิค การปลูกแบบ 1 หลุม 2 ต้น วิธีการคือ การปลูกแบบนี้จะมีลักษณะเหมือนการปลูกแบบไว้เถาเดียวเช่นกัน แต่จะเพิ่มตรงที่ 1 หลุม มี 2 ต้น ข้อดี 1. ได้จำนวนต้นที่มากกว่า 2. ประหยัดวัสดุเพาะกล้า ข้อเสีย เมื่อ 1 หลุม มี 2 ต้น จะต้องให้ปุ๋ยและน้ำอย่างพอเพียงต่อความต้องการของพืช การ เลือกพันธุ์ที่จะใช้ในการปลูก แบบ 1 หลุม 2 ต้น เกษตรกรส่วนมากจะนิยมใช้สายพันธุ์แตงโมการค้าของ ตราตะวันต้นกล้า ที่มีชื่อเสียงเรื่องของการผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโมพันธุ์ “กินรี” โดย จะมีวิธีการคือ ปลูกแตงโม 2 สายพันธุ์ ในแปลงเดียวกัน โดยเกษตรกรจะซื้อเมล็ดพันธุ์แตงโมมา 2 สายพันธุ์ จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน อัตรา 1 ต่อ 1 ส่วน โดยจะมีการจับคู่ปลูก 2 สายพันธุ์ เช่น ปลูกแตงโมพันธุ์กินรี 188 จับคู่กับพันธุ์กินรี 457 หรือ ปลูกแตงโมพันธุ์กินรี 188 จับคู่กับแตงโมพันธุ์กินรี c30 เหตุผล ที่เกษตรกรบางรายเลือกปลูกวิธีดังกล่าวมากขึ้น แทนที่จะปลูกสายพันธุ์เดียวเช่นแต่ก่อน คือ ดึงเอาจุดเด่นของแตงโมแต่ละสายพันธุ์มาใช้นั่นเอง เช่น พันธุ์กินรี 188 จะมีลักษณะเด่นคือ ผิวสวย รูปทรงได้ เนื้อดี และจะมีข้อด้อยคือ ขนาดผลเล็ก ส่วนพันธุ์ c30 และ 457 จะมีลักษณะผลขนาดใหญ่ และติดผลดก แต่ลายผิวยังไม่สวยตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น เมื่อนำพันธุ์แตงโมมาปลูกรวมกันในแปลงเดียวกัน มีการผสมดอกกัน ผลดีที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้แตงโมมีผลขนาดใหญ่ มีผิวที่สวยงาม ทรงลูกก็เป็นไปตามที่ต้องการของตลาด และที่เกษตรกรชอบก็คือ แตงโมติดผลดก ทำให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น การเลือกพื้นที่ปลูกแตงโม คุณยุภาแนะนำว่า หากปลูกในพื้นที่ใหม่ แตงโมจะให้ผลผลิตได้ดีมาก มักจะไม่เจอปัญหาโรครบกวนมากเท่าไรนัก หากใช้พื้นที่ปลูกแตงโมซ้ำ จะเห็นได้ชัดคือ โรคจะมีมากกว่า ให้ผลผลิตได้ไม่ดีเท่าที่ควร
 
โดย มากพื้นที่ที่เคยปลูกแตงโมมาก่อนควรต้องปลูกพืชอื่นสลับ อย่างเช่น ทำนา และปลูกถั่วเหลือง อย่างน้อย 1 ปี จึงจะกลับมาทำแตงโมอีกครั้งได้ และควรไถร่องสลับจากปีที่แล้ว เป็นต้น

เครดิต : 
http://www.technologychaoban.com/


Short URL :