การปลูกแคนตาลูป

แคตาลูป

แคนตาลูป เป็นพืชที่ชอบ อากาศอบอุ่นถึงร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับ การงอกของราก แคนตาลูป อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่าง กลางวันกับกลางคืน มีอิทธิพลต่อ ความหวาน และคุณภาพของ แคนตาลูป ถ้าความแตกต่าง ยิ่งมากจะทำ ให้ความหวาน และคุณภาพยิ่งสูง แต่สภาพที่หนาวเย็น จะทำให้ผลแคนตาลูปไม่โต การเจริญเติบโตจะชะงัก แคนตาลูปเป็นพืชที่ ชอบแสงแดด ตลอดวัน ฉะนั้นในการเลือกพื้นที่ ปลูกควรเป็นพื้น ที่โล่งแจ้ง และไม่เคยปลูกพืช ตระกูลแตงมาก่อน ควรเป็นดินร่วน ปนทรายระบายน้ำ ได้ดี มีความเป็น กรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6.0-6.8

การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการหยอดเมล็ดแคนตาลูป
พื้นที่ปลูก 1 ไร่ เตรียมเมล็ดพันธุ์อัตรา 0-100 กรัม
นำเมล็ดเมล็ดพันธุ์บรรจุลงในถุงพลาสติก หรือถุงซิบที่เจาะรูพรุน หรือถุงเน็ต ลงแช่ในน้ำสะอาดนาน 4-6 ชม. จากนั้นนำเมล็ดออกมาสลัดน้ำทิ้งใช้ผัาขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส โดยใช้หลอดไฟขนาด 40-60 W. บ่มนาน 24 ชม. เมล็ดแคนตาลูปจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ชม. ก็สามารถนำไปหยอด ลงในถุงดินหรือถาดเพาะกล้าต่อไป
การเตรียมถุงดินสำหรับเพาะเมล็ด ใช้ดินร่วน 2-3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ ปุ๋ย 0-46-0 กำมือ ผสมให้เข้ากัน กรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×4 นิ้ว หรือ 4×6 นิ้ว โดยเจาะรูที่ก้นถุงทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ และนำถุงดินไปวางเรียงในแปลงเพาะ ขนาดกว้าง 1.0-1.5 เมตร โดยวางเรียงประมาณ 12-15 ถุงต่อแถว จากนั้นรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม นำเมล็ดที่งอกราก แล้วหยอดลงไปถุงละ 1 เมล็ด หลังหยอด 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มชูใบเลี้ยงขึ้นมา ช่วยแกะเอาเปลือกของเมล็ดออกด้วย รดน้ำต้นกล้าทุกเช้าเย็น อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 10-12 วัน มีใบจริง 2-4 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงได้

การเตรียมแปลงปลูกแคตาลูป
ไถดินตากไว้ 1-2 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนให้ละเอียดทำการยกร่องแปลง โดยใช้ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่ 800-1,000 กก./ไร่) ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ฟูราดาน 2-3 กก./ไร่ ถ้าสภาพดินที่มี pH ต่ำ ควรใช้ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่ การเตรียมแปลงถ้าเป็นแบบขึ้นค้างให้ห่างกัน 1.2-1.5 เมตร ความกว้างของร่องน้ำ 60-70 ซม. หลังแปลงกว้าง 80-90 ซม. ใช้พลาสติกคลุม(พลาสติก 2 สี สีบรอนซ์และสีดำ) แล้วทำการเจาะหลุมปลูกห่างกัน 40-45 ซม.

ถ้าเป็นแปลงแบบเลื้อย ใช้ขนาดแปลงกว้าง 3-4 เมตร เตรียมแปลงคู่(แบบเดียวกับแตงโม) ร่องน้ำกว้าง 60-70 ซม.

การย้ายปลูก หลังเตรียมแปลงเสร็จก่อนย้ายปลูก 1-2 วัน ให้ฉีดพ่นยาต้นกล้า หรืองดการให้น้ำต้นกล้า เพื่อให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบบโต(Harddening) ใช้ระยะปลูก 40-45 ซม. รดน้ำหลุมให้ชุ่ม แล้วนำต้นกล้าปลูกลงไปหลุมละ 1 ต้นหลังปลูกเสร็จรดน้ำตามอีก 1 รอบ

การดูแลรักษาแคนตาลูป
การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังปลูก 7-10 วัน ให้ยูเรีย อัตรา 1 ช้อนแกงต่อนำ 10 ลิตร รดที่โคนต้น ระวังอย่าให้ถูกใบ
ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 20-30 วัน ให้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยวิธีฝังระหว่างต้นหรือโรยที่ร่องน้ำ
ครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 40 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยวิธีฝังระหว่างต้น หรือโรยตามร่องน้ำ
ครั้งที่ 4 เพิ่มปุ๋ยโปแตส เพื่อเพิ่มความหวานและสีสรร อาจใช้ปุ๋ยยูเรียผสมในอัตรา 1:1 โดยหว่านตามร่องน้ำก่อนการเก็บ 1-2 สัปดาห์
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้แคนตาลูปเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการติดผล ซึ่งจะทำให้ผลแคนตาลูปอาจไม่โต การให้น้ำไม่สม่ำเสมอนอกจากระทำให้การเจริญเติบโตชะงักแล้ว อาจทำให้ผลปริแตกได้
การไว้ผลและการตัดแต่งกิ่ง กิ่งแขนงที่เกิดตั้งแต่ข้อที่ 1 จนถึงข้อที่ 8 ให้ตัดแต่งออกให้หมด และเริ่มไว้ผลข้อที่ 9-10,11-12 ให้เลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล แล้วทำการห้อยผลไว้กับราวไม้เพื่อป้องกันมิให้ผลวางกับพื้น ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเสียหายได้ ส่วนกิ่งแขนงตั้งแต่ข้อที่ 13 ขึ้นไป ให้ตัดแต่งออกให้หมดและทำการเด็ดยอดข้อที่ 30-35
การเก็บเกี่ยว ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลคนตาลูปที่สุกไม่น้อยกว่า 80% ขึ้นไป และใช้หลักในการพิจารณาเก็บแคนตาลูป ดังนี้

  1. นับอายุ หลังจากดอกบานแล้วประมาณ 30-35 วัน
  2. สังเกตรอยแตกปริของขั้วผล
  3. สังเกตจากสีผิว ถ้าเป็นพันธุ์ผิวเรียบ ผิวจะเป็นมันเรียบสีนวลตามสายพันธุ์ แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่มีตาข่าย จะสังเกตเห็นตาข่าย นูนเด่นชัดเจน
  4. สังเกตจากกลิ่น ถ้าเป็นแคนตาลูปพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม ถ้าสุกกลิ่นจะเริ่มหอมขณะเดินไปแปลงจะได้กลิ่น

โรค-แมลงและการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้าง เกิดในสภาพอากาศที่อุณภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์สูง ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีพวกดาโคนิล, ริดโดมิล, เอพรอน 85
โรคเหี่ยว ป้องกันโดยไม่ปลูกซ้ำ พื้นที่เดิม
โรคราแป้ง เกิดในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์ต่ำ ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาอาฟูกาน
โรคไหม้ เกิดในสภาพอากาศอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์สูง เกิดทั้งที่ใบและลำต้น ป้องกันโดยฉัดพ่นสารประเภทดูดซึม เช่น คาร์เบนดาซิม, เบนเลท, ท๊อบซินเอ็ม
เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นพาหะของไวรัส ป้องกันโดยใช้ยาดูดซึมพวก คาร์โบฟูราน รองก้นหลุม ฉีดยาพ่นยาพวกคาร์โบซันแฟน ,เมทโธมิล
แมลงเต่าแตง ระบาดโดยกัดกินใบ ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี พวกคาร์บาริล หรือสารดูดซึม ในกลุ่มของไดโครโตฟอส
หนอนกัดกินใบและผลอ่อน ป้องกันโดยใช้ยากลุ่มเมทโธมิล หรือกลุ่มโมโนโคร โตฟอส

เครดิต : http://www.vegetweb.com/

Short URL :